Follow Us on
www.pnrmedical.com
 
 
อีเมล์
รหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
ผู้ชม
วันนี้ 159
เมื่อวาน 88
ทั้งหมด 1,019,081
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 88
เมื่อวาน 130
ทั้งหมด 2,553,943
 
Share
    สอบถามทั่วไป -->เรามาทำความรู้จัก ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป กันค่ะ
 เจ้าของกระทู้  หัวเรื่อง

 admin
หัวเรื่อง : เรามาทำความรู้จัก ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป กันค่ะ
เวลาตอบกระทู้ : 4/14/2017 12:51:11 PM
 
 
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Officer)

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า จป.
คือบุคลการที่ดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานที่สถานประกอบกิจการต่างๆต้องจัดให้มีตามกฏหมาย

โดยแบ่งเป็นระดับต่าง ตามความรู้ความสามารถ ดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน:
พนักงานในระดับหัวหน้างานในสถานประกอบกิจการทุกคนจะต้องเป็น จป.หัวหน้างานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การจะเป็นจป.หัวหน้างานนั้นไม่ยากอะไร แค่อบรมไม่กี่วันได้ประกาศนียบัตรมา ได้รับการประกาศแต่งตั้ง แค่นี้ก็เป็นได้แล้ว

2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร:
การได้มาของจป.บริหารไม่แตกต่างจาก จป.หัวหน้างาน มากนัก แค่ไปอบรมจากสถาบันที่ได้รับอนุญาตให้เป็นหน่วยฝึกอบรมก็เท่านั่น จะต่างกันก็ตรงที่ผู้ที่จะมาเป็น จป.บริหารต้องอยู่ในระดับสูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปก็แค่นั่น

3. เจ้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค:
จะพบได้ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20คน แต่ไม่เกิน 50คน โดยนายจ้างต้องส่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน ไปอบรมเพื่อเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคเพิ่มเติม

4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง:
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100คน จะต้องมีเจ้าหน้าที่ในความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง
เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน จป.เทคนิคขั้นสูงก็สามารถเป็นได้ด้วยการอบรมเช่นกัน (และจบ ปวส. หรืออนุปริญญาเป็นขั้นต่ำ)

แต่การได้ใบประกาศนีบัตรนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะต้องสอบวัดระดับความรู้ แบ่งเป็นหมวดๆ ซึ่งเท่าที่รู้มา ในหนึ่งคลาสจะมีคนสอบผ่านทุกหมวดแค่ไม่กี่คนเท่านั้น แต่ไม่ต้องเครียดไป เพราะโลกนี้มีส่ิงที่เรียกว่า “สอบซ่อม” ถ้าสอบไม่ผ่านก็ซ่อมไปจนกว่าจะผ่าน

5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ
ในจป.ทุกระดับมีแค่ จป.วิชาชีพเท่านั้นที่ไม่สามารถได้มาด้วยการอบรมและสอบเพียงเท่านั้น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพจะต้องจบปริญญาตรีด้านอาขีวอนามัย และความปลอดภัย หรือวิทยาศาตร์ความปลอดภัยจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น ในสถานประกอบการทีมีพนักงานตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปจะต้องมี จป.วิชาชีพ อย่างน้อยหนึ่งคน

สรุปคราวๆคือ สถานประกอบกิจการต่าง จะต้องมีจป.อย่างน้อยสามระดับ สองระดับแรก คือ จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร นอกเหนือจากนี้ก็จะเพิ่มเติมตามจำนวนพนักงาน ถ้ามีพนักงานตั้งแต่ 20 – 50 คน ก็ต้องเพิ่มจป.เทคนิค เข้าไป, พนักงาน 51 – 100 คน ก็เปลี่ยนจากเทคนิคเป็นเทคนิคขั้นสูง และถ้ามีพนักงานตั้งแต่ 101 คน ก็จะกลายเป็น จป.วิชาชีพแทนนั่นเอง

คราวนี้คงรู้จัก จป.แต่ละระดับกันแล้ว แน่นอนว่าหลายๆคนคงสงสัยว่าจะมี จป. ไปทำไมกัน แล้วพวกเค้ามีหน้าที่อะไร แน่นอนว่าหน้าที่หลักๆคือการดูแลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน แต่เพื่อความชัดเจนกฏหมายก็ทำการกำหนดหน้าที่ของจป.ระดับต่างๆไว้อย่างชัดเจนซึ่งสามารถไปดูเพิ่มเติมได้ที่ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๔๙

เครดิต SUWANNA SONGSIRISAK
เครดิตรูป: Oshthai.org


 
 หน้าที่ของ จป.วิชาชีพ 12 ข้อ หัวเรื่อง : เรามาทำความรู้จัก ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป กันค่ะ
เวลาตอบล่าสุด : 4/14/2017 12:55:46 PM
 
 
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ มีหน้าที่

1. ตรวจสอบ เสนอแนะ ให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายรวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน

4. วิเคราะห์แผนงานโครงการรวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง

5. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน

6. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ ตามข้อ3ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน

7. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน

8. ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ

9. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

10. ตรวจสอบสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานและรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

11. รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง

12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

เครดิต safetybuu16



 
 admin หัวเรื่อง : เรามาทำความรู้จัก ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป กันค่ะ
เวลาตอบล่าสุด : 4/14/2017 1:07:25 PM
 
 
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับต่างๆ: หน้าที่ จป. ระดับต่างๆ

หน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป. ,safety) ระดับต่างๆ ตาม กฎกระทรวง
เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีดังนี้

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่

(๑) กํากับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓
(ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น
โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิ คขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ

(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

(๔) ตรวจสอบสภาพการทํางาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน

(๕) กํากับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ

(๖) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ อันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ

(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรํ าคาญ อันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับ เทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง โดยไม่ชักช้า

(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน

(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภั ยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย


เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิค มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) ว ิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทํางาน
อย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๔) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ
อันเนื่องจากการทํางาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๕) รวบรวมสถ ิติ จัดทํารายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๖) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) วิเคราะหงานเพื่อชี้บงอันตราย รวมทั้งกําหนดมาตรการปองกันและขั้นตอนการทํางาน
อยางปลอดภัยเสนอตอนายจาง

(๓) วิเคราะหแผนงานโครงการ รวมทั้งขอเสนอแนะของหนวยงานตาง ๆ และเสนอแนะ
มาตรการความปลอดภัยในการทํางานตอนายจาง

(๔) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการใหเปนไปตามแผนงานโครงการ
หรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน

(๕) แนะนําใหลูกจางปฏิบัติตามขอบังคับและคูมือตามขอ ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๖) แนะนํา ฝกสอน อบรมลูกจาง เพื่อใหการปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําใหเกิดความ
ไมปลอดภัยในการทํางาน

(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะหการประสบอันตราย การเจ็บป วย หรือการเกิดเหตุ
เดือดรอนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะตอนายจางเพื่อปองกัน การเกิดเหตุโดยไมชักชา

(๘) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทํารายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดรอนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๙) ปฏ ิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ วิชาชีพ มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันหรือขั ้นตอนการทํางานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(๔) วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทํางานต่อนายจ้าง

(๕) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน

(๖) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๗) แนะนํา ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพ ื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน

(๘) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน หรือดําเนินการร่วมกับบุคคลหรือ
หน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสาร หลักฐานรายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทํางานภายในสถานประกอบกิจการ

(๙) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสม กับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

(๑๐) ตรวจสอบหาสาเหตุ และวิเคราะหการประสบอันตราย การเจ็บปวย หรือการเกิดเหตุ เดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกัน การเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๑๑) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทํารายงาน และขอเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดรอนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ บริหาร มีหน้าที่
(๑) กํากับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับซึ่งอยูในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร

(๒) เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทํางานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ต่อนายจ้าง

(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดําเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสมกับ สถานประกอบกิจการ

(๔) กํากับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าท ี่ความปลอดภัยในการทํางาน คณะกรรมการ หรือ หน่วยงานความปลอดภัย

ก็เป็นข้อกำหนดของกฏหมายนะครับ ที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับไหน ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งก็จะช่วยให้เราทราบบทบาทหน้าที่ของเรา และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของกฏหมายที่ออกมา

เครดิต ที่มา thaisafetywork
 
 admin หัวเรื่อง : เรามาทำความรู้จัก ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป กันค่ะ
เวลาตอบล่าสุด : 8/2/2021 8:45:18 AM
 
 
เรามาทำความรู้จัก ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป กันค่ะ
 
Page 1

pnrmedical.com  
ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เอ็น รุ่งเรือง เมดิคอล
P.N RUNGRUEANG MEDICAL LIMITED PARTNERSHIP

เมลล์ pn.rmedical@gmail.com โทร 02-966-5871

 ติดต่อ และ รับข่าวสาร
www.pnrmedical.com
      
 
เว็บสำเร็จรูป
×