Follow Us on
www.pnrmedical.com
 
 
อีเมล์
รหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
ผู้ชม
วันนี้ 69
เมื่อวาน 130
ทั้งหมด 1,020,271
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 73
เมื่อวาน 167
ทั้งหมด 2,555,443
 
ความเสี่ยงหัวใจวายที่คุณอาจไม่รู้
แม้รู้กันดีอยู่ว่าการสูบบุหรี่ ขี้เกียจออกกำลังกาย และโรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย แต่ยังมีปัจจัยอีกหลากหลายที่คาดไม่ถึงที่อาจชักนำสู่อาการนี้หรือปัญหา หัวใจอื่นๆ

เดือนที่แล้ว นักวิจัยสเปนเผยว่า คนไข้ที่หัวใจวายระหว่าง 6 โมงเช้าถึงเที่ยง หัวใจจะเสียหายมากกว่าคนที่หัวใจวายช่วงบ่าย 20% เนื่องจากความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อตื่นนอน

ต่อไปนี้คือสาเหตุปัญหาหัวใจบางอย่างที่ชวนให้ฉงน
  • พี่-น้องผู้ชายเป็นโขยง
ระดับเทสโทสเตอโรนที่ต่ำลงเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับความเสี่ยงโรคหัวใจ ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น หากมีพี่ชายหลายคน
มีแนวโน้มมากขึ้นว่าคุณอาจได้รับเทสโทสเตอโรนขณะอยู่ใน ครรภ์มารดา ทำให้ร่างกาย ?รีเซ็ต? ให้ระดับฮอร์โมนดังกล่าว
ลดลงโดยธรรมชาติเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ การโตมากับพี่น้องเป็นโขยงยังเพิ่มความเสี่ยงได้รับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ 
ของอาการหัวใจวาย ทั้งนี้ เชื่อว่าการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอรีที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและไม่แสดงอาการ ทำให้
เกิดการอักเสบภายในร่างกาย เช่นเดียวกับการติดเชื้อระยะยาวมากมาย ที่โอกาสในการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นหากมีพี่น้องหลาย
คนเนื่องจากเชื้อนี้แพร่ กระจายจากการสัมผัสน้ำลาย ในการศึกษาขนาดเล็กที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารฮาร์ต ระบุว่าผู้ป่วยที่มีอา
การหัวใจเต้นผิดจังหวะมีแนวโน้มที่จะได้ผลทดสอบเชื้อ เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอรีออกมาเป็นบวกมากกว่าอาสาสมัครที่สุข
ภาพแข็งแรง 20%
  • นอนหลังเที่ยงคืน
นักวิจัยจากมิซาโอะ เฮลธ์ คลินิกในญี่ปุ่นพบว่า ผู้ชายที่เข้านอนหลังเที่ยงคืนจะมีหลอดเลือดหัวใจยืดหยุ่นน้อยกว่า
ผู้ชายที่ นอนก่อนสองยาม สาเหตุอาจเป็นเพราะคนนอนดึกเครียดมากกว่า และมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และ
กินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ซึ่งล้วนเป็นข่าวร้ายสำหรับหัวใจ
  • มีกิ๊ก
แม้รู้กันว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นประจำดีต่อหัวใจ แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ อิตาลี พบว่าผู้ชายแต่งงาน
แล้วแต่นอกใจภรรยามีความเสี่ยงหัวใจวายเพิ่มขึ้นเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้ชายเหล่านั้นไม่มีความสุขในชีวิตแต่งงาน 
และอาการซึมเศร้าเชื่อมโยงกับความเสี่ยงโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน นักวิจัยพบว่าชีวิตคู่ที่สุโขสโมสรดูเหมือนช่วย
ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจ
  • การขาดน้ำ
นักวิจัยแคลิฟอร์เนียศึกษาหญิง-ชายสุขภาพดีกว่า 20,000 คน และพบว่าคนที่ดื่มน้ำวันละ 5 แก้วขึ้นไปมีแนวโน้ม
เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายหรือโรคหัวใจน้อยกว่าคนที่ ดื่มน้ำวันละไม่ถึง 2 แก้วทฤษฎีของเรื่องนี้คือภาวะขาดน้ำทำให้เลือด
ข้นขึ้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย ดังนั้น การดื่มน้ำน้อยจึงอันตรายต่อหัวใจพอๆ กับการสูบบุหรี่หรือไม่ออกกำลังกาย 
  • อาการร้อนวูบวาบ
ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองก่อนเวลามีโอกาสหัวใจวายตอนแก่เพิ่มขึ้น 2 เท่า ในการศึกษาผู้หญิง 2,500 คน นักวิจัยจาก
มหาวิทยาลัยอลาบามา สหรัฐฯ พบว่าผู้ที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนเวลาอันควร มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคหัวใจ 
เนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนมีฤทธิ์ช่วยปกป้องหัวใจ และฮอร์โมนชนิดนี้ลดลงหลังวัยทอง 
  • ไม่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อังกฤษ ระบุว่าอาการหัวใจวายมีโอกาสเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน-มกราคมมาก
กว่าเดือน อื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการป่วยและติดเชื้อมากมายในช่วงฤดูหนาวที่ทำให้เกิดการ อักเสบในร่างกายดังนั้นหากเป็น
โรคหัวใจ ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อลดความเสี่ยงศัลยแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจจากโรงพยาบาลแคสเทิล 
ฮิลในอังกฤษ สำทับว่าอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาการหัวใจวายเกิดบ่อยขึ้นในช่วงฤดูหนาวคือ เนื่องจากอากาศเย็นทำให้
หลอดเลือดแข็งและความดันโลหิตสูงขึ้น 
  • รักสนุกทุกข์ถนัด
โรคหนองในเทียมอาจกระตุ้นโรคหัวใจได้นักวิจัยแคนาดาพบว่าโรคนี้สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกตินำ
ไปสู่อาการอักเสบที่หัวใจ ผลที่ตามมาคือหลอดเลือดหัวใจแข็งที่อาจทำให้หัวใจวาย งานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า อาการ
อักเสบในร่างกายมีบทบาทสำคัญต่อโรคหัวใจและมะเร็ง
  • อยู่คนเดียว
การใช้ชีวิตตามลำพังเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับคนที่มีคู่ นักวิจัยเดนมาร์กศึกษาข้อมูลของ
ผู้ใหญ่กว่า 138,000 คน และพบว่าผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไปที่อยู่คนเดียวมีความเสี่ยงมีปัญหา
ต่างๆ เช่น หัวใจวายเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ถูก สุขลักษณะ เช่น 
สูบบุหรี่ กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์
 
Share

pnrmedical.com  
ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เอ็น รุ่งเรือง เมดิคอล
P.N RUNGRUEANG MEDICAL LIMITED PARTNERSHIP

เมลล์ pn.rmedical@gmail.com โทร 02-966-5871

 ติดต่อ และ รับข่าวสาร
www.pnrmedical.com
      
 
เว็บสำเร็จรูป
×