Follow Us on
www.pnrmedical.com
 
 
อีเมล์
รหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
ผู้ชม
วันนี้ 153
เมื่อวาน 133
ทั้งหมด 1,049,477
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 162
เมื่อวาน 199
ทั้งหมด 2,591,556
 
พีเอ็นรุ่งเรืองเมดิคอล ให้คำปรึกษาในการจัดทำห้องพยาบาล จัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องพยาบาล ห้องปฐมพยาบาล FIRST AID ให้กับบริษัท โรงงานอุตสาหกรรม สถานศึกษา และหน่วยงานต่างๆ

ตัวอย่างหน่วยงาน ที่ได้ทำห้องพยาบาลบรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายสวัสดิการแรงงา และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรัฐ ที่ให้ลูกจ้างของหน่วยงาน มีระดับความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขกายและจิตใจที่ดี
การดูแลลูกจ้างในองค์กร ให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี  มีความปลอดภัยในการทำงาน จะนำพามาซึ่งความมั่นคงในชีวิตของตัวลูกจ้าง และความเจริญก้าวหน้าของบริษัทและหน่วยงานด้วย



อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องพยาบาล ในส่วนรับรองการนอนพักรักษา เช่น เตียงนอนพัก เตียงผู้ป่วยสามัญ ฉากบังตา 3 ตอนสเตนเลส ผ้าห่มขนหนู ผ้าปูเตียงผู้ป่วย ผ้าคลุมเตียง
อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องพยาบาล ในส่วนของการตรวจรักษา เช่น เตียงตรวจ เครื่องวัดความดัน เทอโมมิเตอร์วัดไข้ เครื่องชั่งน้ำหนัก
อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องพยาบาล ในส่วนของการปฐมพยาบาล เช่น รถเข็นทำแผล  ถังใส่ขยะติดเชื่อเปิดโดยใช้เท้าเหยียบ กรรไกรตัดก็อซ ปากคีบไม่มีเขี้ยว ปากคีบมีเขี้ยว ถาดสี่เหลี่ยมมีหลุม ถาดเซททำแผล ฟอร์เซปจาร์ ชามรูปไต กระปุกสำลี
อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องพยาบาล ในส่วนของการบริการ เช่น รถเข็นวีลแชร์ กระเป๋าพยาบาล (first aid kid) เปลสนาม ตู้ยาสามัญ


























การกำหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการ ภายใต้ภารกิจการกำหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการนี้ สวัสดิการแรงงานได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น ประเภท 

            •สวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด
            •สวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด

สวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด 
        เป็นสวัสดิการที่ได้มีการพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ ซึ่งกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องมีการจัดสวัสดิการประเภทนี้ คือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง โดยในประกาศฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดและรูปแบบของสวัสดิการแรงงานที่สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีโดยสรุปดังนี้ 
        1.ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำ และห้องส้วมอันถูกต้องตามสุขลักษณะและมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง
        2.นายจ้างต้องจัดให้มีบริการเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยในการปฐมพยาบาลหรือในการรักษาพยาบาล 
             1.สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องมีปัจจัยในการปฐมพยาบาล
             2.สถานที่ทำงานอุตสาหกรรม นอกจากปัจจัยในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 ) แล้ว ต้องจัดให้มีห้องรักษาพยาบาล พยาบาล และแพทย์ ดังต่อไปนี้ 
                •  ถ้ามีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี

                   (ก) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้หนึ่งเตียง และเวชภัณฑ์อันจำเป็นเพียงพอแก่การรักษาพยาบาล

                   (ข) พยาบาลไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคน และ

                   (ค) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อตรวจรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราว 
                •  ถ้ามีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันหนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี

                   (ก) สถานพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้สองเตียง และเวชภัณฑ์อันจำเป็นเพียงพอแก่การรักษาพยาบาล

                   (ข) พยาบาลไว้ประจำอย่างน้อยสองคน

                   (ค) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยสองคนประจำตามเวลาที่กำหนดในเวลาทำงานปกติคราวละไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง และ

                   (ง) ยานพาหนะพร้อมที่จะนำส่งลูกจ้างส่งสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยชั้นหนึ่งที่นายจ้างได้ตกลงไว้ เพื่อให้การรักษาพยาบาลลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยได้โดยพลัน

         อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ลงนามในกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 โดยจะมีผลบังคับใช้แทนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง ตั้งแต่ วันที่ 25 กันยายน 2548 เป็นต้นไป กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินภารกิจ 3 ประการ ดังนี้

 

ข้อ 1 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มี 
         1.น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างไม่เกินสี่สิบคน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างทุกๆ สี่สิบคน เศษของสี่สิบคนถ้าเกินยี่สิบคนให้ถือเป็นสี่สิบคน
         2.ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมแยกสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง และในกรณีที่มีลูกจ้างที่เป็นคนพิการ ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ

 

ข้อ 2 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและ การรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้ 
         1.สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ อย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้

            (ก) กรรไกร

            (ข) แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด

            (ค) เข็มกลัด

            (ง) ถ้วยน้ำ

            (จ) ที่ป้ายยา

            (ฉ) ปรอทวัดไข้

            (ช) ปากคีบปลายทู่

            (ซ) ผ้าพันยืด

            (ฌ) ผ้าสามเหลี่ยม

            (ญ) สายยางรัดห้ามเลือด

            (ฎ) สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล    

            (ฏ) หลอดหยดยา

            (ฐ) ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม

            (ฑ) ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือโพวิโดน-ไอโอดีน

            (ฒ) น้ำยาโพวิโดน-ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล

            (ณ) ผงน้ำตาลเกลือแร่

            (ด) ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ

            (ต) ยาแก้แพ้

            (ถ) ยาทาแก้ผดผื่นคัน

            (ท) ยาธาตุน้ำแดง

            (ธ) ยาบรรเทาปวดลดไข้

            (น) ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก

            (บ) ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

            (ป) เหล้าแอมโมเนียหอม

            (ผ) แอลกอฮอล์เช็ดแผล

            (ฝ) ขี้ผึ้งป้ายตา

            (พ) ถ้วยล้างตา

            (ฟ) น้ำกรดบอริคล้างตา

            (ภ) ยาหยอดตา

 

         2.สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี

            (ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 )

            (ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

            (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาทำงาน 
            (ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน

 

         3.สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่หนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี

            (ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 )

            (ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

            (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน

            (ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน

            (จ) ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลได้ โดยพลัน

 

ข้อ 3 นายจ้างอาจทำความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาล ที่เปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงและเป็นสถานพยาบาลที่นายจ้างอาจนำลูกจ้างส่งเข้ารับการ รักษาพยาบาลได้โดยความสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ตามข้อ 2 (2) หรือข้อ 2 (3) ได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

ที่มา http://www.mol.go.th/employee/Welfare_workers



เครดิตรูป: Oshthai.org

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับต่างๆ: หน้าที่ จป. ระดับต่างๆ

หน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป. ,safety) ระดับต่างๆ ตาม กฎกระทรวง
เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดลอมในการทํางาน พ.ศ.  ๒๕๔๙ มีดังนี้

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่

(๑) กํากับ  ดูแล  ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓
(ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น
โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค  ระดับเทคนิ คขั้นสูง   หรือระดับวิชาชีพ

(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

(๔) ตรวจสอบสภาพการทํางาน  เครื่องจักร  เครื่องมือ  และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน

(๕) กํากับ  ดูแล  การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ

(๖) รายงานการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ  อันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง  และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค   ระดับเทคนิคขั้นสูง  หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ

(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรํ าคาญ อันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค  ระดับ เทคนิคขั้นสูง  หรือระดับวิชาชีพ  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง โดยไม่ชักช้า

(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน

(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภั ยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิค มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) ว ิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย  รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทํางาน
อย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๔) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ
อันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๕) รวบรวมสถ ิติ  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย  การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๖) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ เทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) วิเคราะหงานเพื่อชี้บงอันตราย รวมทั้งกําหนดมาตรการปองกันและขั้นตอนการทํางาน
อยางปลอดภัยเสนอตอนายจาง

(๓) วิเคราะหแผนงานโครงการ  รวมทั้งขอเสนอแนะของหนวยงานตาง  ๆ  และเสนอแนะ
มาตรการความปลอดภัยในการทํางานตอนายจาง

(๔) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการใหเปนไปตามแผนงานโครงการ
หรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน

(๕) แนะนําใหลูกจางปฏิบัติตามขอบังคับและคูมือตามขอ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๖) แนะนํา ฝกสอน อบรมลูกจาง เพื่อใหการปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําใหเกิดความ
ไมปลอดภัยในการทํางาน

(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะหการประสบอันตราย  การเจ็บป วย  หรือการเกิดเหตุ
เดือดรอนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล  รวมทั้งเสนอแนะตอนายจางเพื่อปองกัน การเกิดเหตุโดยไมชักชา

(๘) รวบรวมสถิติ  วิเคราะห์ข้อมูล  จัดทํารายงาน  และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย  การเจ็บป่วย  หรือการเกิดเหตุเดือดรอนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๙) ปฏ ิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ วิชาชีพ มีหน้าที่
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย  รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันหรือขั ้นตอนการทํางานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(๔) วิเคราะห์แผนงานโครงการ  รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง  ๆ  และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทํางานต่อนายจ้าง

(๕) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทํางาน

(๖) แนะนําให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  ๓ (ข้อ 3 นี้ คือ ข้อที่ระบุว่า สถานประกอบการจะต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยไว้ในสถานประกอบการ)

(๗) แนะนํา  ฝึกสอน  อบรมลูกจ้างเพ ื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน

(๘) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน  หรือดําเนินการร่วมกับบุคคลหรือ
หน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสาร หลักฐานรายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทํางานภายในสถานประกอบกิจการ

(๙) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสม กับสถานประกอบกิจการ  และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

(๑๐) ตรวจสอบหาสาเหตุ  และวิเคราะหการประสบอันตราย  การเจ็บปวย  หรือการเกิดเหตุ เดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางาน  และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกัน การเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๑๑) รวบรวมสถิติ  วิเคราะห์ข้อมูล  จัดทํารายงาน  และขอเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบ อันตราย  การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดรอนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้าง

(๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ บริหาร มีหน้าที่
(๑) กํากับ  ดูแล  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับซึ่งอยูในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร

(๒) เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทํางานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ต่อนายจ้าง

(๓) ส่งเสริม  สนับสนุน  และติดตามการดําเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสมกับ สถานประกอบกิจการ

(๔) กํากับ  ดูแล  และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าท ี่ความปลอดภัยในการทํางาน  คณะกรรมการ  หรือ หน่วยงานความปลอดภัย

ก็เป็นข้อกำหนดของกฏหมายนะครับ ที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับไหน ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งก็จะช่วยให้เราทราบบทบาทหน้าที่ของเรา และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของกฏหมายที่ออกมา

เครดิต ที่มา thaisafetywork



ฝ่ายขาย ☎โทร.090-120-2423  Line id : pnrmedical
เมลล์ : pn.rmedical@gmail.com

ดูสินค้าได้ที่ 🌏เว็บไซต์ http://pnrmedical.com
ผลงานของเรา http://goo.gl/6DuTUp
งานห้องปฐมพยาบาล https://goo.gl/zW4eD4
รายการที่ใช้ในห้องพยาบาล https://firstaidthai.blogspot.com

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เอ็น รุ่งเรือง เมดิคอล (สำนักงานใหญ่)
P.N RUNGRUEANG MEDICAL LIMITED PARTNERSHIP
16/192 หมู่8 ถนนพิบูลสงคราม ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 
02-966-5871, 02-966-5442, Fax 02-0656173

Share

pnrmedical.com  
ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เอ็น รุ่งเรือง เมดิคอล
P.N RUNGRUEANG MEDICAL LIMITED PARTNERSHIP

เมลล์ pn.rmedical@gmail.com โทร 02-966-5871

 ติดต่อ และ รับข่าวสาร
www.pnrmedical.com
      
 
เว็บสำเร็จรูป
×